web analytics

ติดต่อเรา

ททท. ยกชุมชนปู่หมื่น เชียงใหม่ เป็นต้นแบบท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนในกิจกรรม Village Tourism 4.0

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดกิจกรรม Village Tourism 4.0 ภายใต้โครงการVillage to the World 4.0  สร้างสรรค์กิจกรรมและส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น ขานรับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างความเจริญและยกระดับความเป็นอยู่ของคนในชนบทให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยลงพื้นที่สำรวจแหล่งท่องเที่ยวภายใต้โครงการพัฒนากลุ่มจังหวัด (แอ่งท่องเที่ยว) เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น ผสมผสานกับผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาและการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ  ซึ่งเป็นการสร้างทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น และช่วยเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยภายในท้องถิ่น สร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน

          โดยได้เลือก 10 ชุมชนต้นแบบจากทั่วประเทศ คือ ชุมชนปู่หมื่น ต.แม่สาว อ.แม่อาย  จ.เชียงใหม่ , ชุมชนตำบลบ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงรายชุมชนแหลมสัก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่, ชุมชนบ้านลำขนุน อ.ย่านตาขาว จ.ตรังชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรรักษ์เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรีชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านแหลมมะขาม อ.แหลมงอบ จ.ตราด, ชุมชนตำบลบ้านแหลม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี, ชุมชนตำบลหนองโรง  อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี, ชุมชนตำบลสวาย อ.เมือง จ.สุรินทร์ และชุมชนบ้านสนวนนอก อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์

สำหรับชุมชนแรก คือ ได้จัดเส้นทางให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชุมชนท้องถิ่นในคอนเซ็ปต์ Life of tea เพราะชุมชนนี้ ซึ่งเป็นชุมชนที่ได้รับพระราชทาน ชา ปุ่หมื่น สายพันธ์อัสสัม จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ โดยหมู่บ้านตั้งอยู่บนเทือกเขาแดนลาว ในเขตท้องที่ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 174 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง ก็จะได้พบกับทัศนียภาพอันสวยงาม รวมถึงวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าลาหู่ อีกทั้งนักท่องเที่ยวที่เลือกเส้นทางนี้ จะพักโฮมสเตย์, ชมการเต้นจะคึก และทานอาหารพื้นเมืองของชาวลาหู่, จะได้ดื่มชา, เก็บใบชา, อบใบชา ด้วยตัวเอง รวมถึงท่องเที่ยวเส้นทางใกล้ๆอาทิ ฝางน้ำพุร้อน และน้ำตกปู่หมื่น เป็นต้น

          สำหรับเรื่องราวของชนเผ่ามูเซอนี้ ย้อนไปกว่าร้อยปี มีชนเผ่ากลุ่มหนึ่งนามว่า “ลาหู่” หรือ “มูเซอแดง” ซึ่งอพยพลงมาจากประเทศจีน ก่อนที่จะเข้าพม่า และเข้ามาเลือกปักหลักในแผ่นดินไทย ณ ขุนเขาแห่งนี้ โดยมีผู้นำชนเผ่าชื่อ นายปู่หมื่น (นายแตงเต้า) ที่ได้ปกครองชุมชนเรื่อยมาจนแก่เฒ่า ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ปู่หมื่น” ดอยแห่งนี้จึงถูกขนานนามว่า “ดอยปู่หมื่น” ชาวบ้านประกอบอาชีพการรับจ้างเก็บใบชา และทำงานรับจ้างดูแลป่าไม้ของกรมป่าไม้ รวมไปถึงการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกาจำหน่าย จากอดีตที่เคยเป็นแหล่งปลูกฝิ่นแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ด้านติดชายแดน อาชีพของเกษตรกรจะทำไร่เลื่อนลอย มีการบุกรุกถางป่าเพื่อปลูกพืช ทำให้สภาพป่ากลายเป็นเขาหัวโล้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ เยี่ยมชาวไทยภูเขาที่บ้านปู่หมื่นในปี 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯ ที่บ้านดอยปู่หมื่นและได้พระราชทานต้นชาให้นำมาปลูกที่บ้านปู่หมื่น นับเป็นชาต้นแรกที่ปลูกและขยายพันธุ์แก่เกษตรกรในพื้นที่ เป็นชาสายพันธุ์อัสสัม ปัจจุบันนี้ บ้านดอยปู่หมื่นเป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ปลูกชาอัสสัมมากที่สุดแห่งหนึ่ง

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ชุมชนปู่หมื่น ยังมีเส้นทางเดินป่าเพื่อชมธรรมชาติและความงามของน้ำตกอีกด้วย นั่นคือ น้ำตกปู่หมื่น หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า น้ำตกงวงช้าง ซึ่งน้ำตกปู่หมื่นเป็นน้ำที่ไหลมาจากดอยผาหลวง (ดอยผ้าห่มปกความโดดเด่นของน้ำตกปู่หมื่น คือมีลักษณะเหมือนงวงช้าง ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่อกระแสน้ำได้ไหลไปกระทบกับหลุมบนหินที่อยู่ตรงกลางของระหว่างชั้นแล้ว จะพุ่งขึ้นไปฟุ้งกระจายเป็นฝอยโค้งซึ่งมีลักษณะคล้ายงวงช้างที่สวยงามมาก ถือได้ว่าเป็นสิ่ง  มหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่หาชมได้ยาก

          โดยพร้อมกันนี้ทาง ททท. ได้กำหนดให้มีการจัดงานนำสินค้าและบริการของทั้ง 10 ชุมชนออกจำหน่ายอย่างเป็นทางการในงานไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 45 ณ อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี ฮอลล์ 3 และ 4 ในวันที่ 2 – 5 พฤศจิกายน 2560 นี้ หรือไปที่ www.tourismthailand.org/villagetourism

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *