web analytics

ติดต่อเรา

โตโยต้า ส่งต่อโอกาสทางการศึกษา ด้วยการมอบทุนแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2565 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 50

คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษา แก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2565 โดยมี อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ พร้อมคณาจารย์ และคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมแสดงความยินดี เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา อันเป็นรากฐาน ที่สำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น โตโยต้า จึงดำเนินธุรกิจควบคู่กับความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสังคมไทยไปสู่ความยั่งยืน รวมถึงเสริมสร้าง ความสุขของผู้คนในสังคม ด้วยการแบ่งปันโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก และเยาวชนที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 50 ปี

โดยโตโยต้า ได้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 1,603 ทุน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 20,562,000 บาท ซึ่งในปีนี้มีนิสิตได้รับทุนดังกล่าว
จำนวน 12 คน รวมเป็นมูลค่า 960,000 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์                             จำนวน 3 ทุน             มูลค่าทุนละ 80,000 บาท
  • คณะอักษรศาสตร์                                  จำนวน 3 ทุน             มูลค่าทุนละ 80,000 บาท
  • คณะรัฐศาสตร์                                        จำนวน 2 ทุน             มูลค่าทุนละ 80,000 บาท
  • คณะทันตแพทยศาสตร์                         จำนวน 1 ทุน             มูลค่าทุนละ 80,000 บาท
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี         จำนวน 1 ทุน             มูลค่าทุนละ 80,000 บาท
  • คณะจิตวิทยา                                         จำนวน 1 ทุน             มูลค่าทุนละ 80,000 บาท
  • คณะเศรษฐศาสตร์                                 จำนวน 1 ทุน             มูลค่าทุนละ 80,000 บาท

โตโยต้า ยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนด้านการศึกษาต่อไป เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างครอบคลุม และเท่าเทียม ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) อันจะนำมาซึ่งการช่วยยกระดับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ปิดช่องว่างทางสังคม และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญา
และสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนต่อไป

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *