web analytics

ติดต่อเรา

DITP ร่วมมือ NIA สรุปแนวทางการสนับสนุน Startup ออกสู่เวทีการค้าโลก Go Global Market

รมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ประชุมหารือเข้มข้น ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สรุปแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการ Startup เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 โดยขั้นแรกเชิญชวนให้ผู้ประกอบการ Startup สมัครเป็นสมาชิกกับ NIA และสมัครเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับ Pitching จากสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) ก่อนจะสามารถออกสู่สนามการค้าจริงระดับโลกได้ (Go Global Market) ผ่านการสมัครขอรับสิทธิ์ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active ระยะที่ 3 (ปีงบประมาณ 2562 – 2564)  

นางวรรณภรณ์ เกตุทัต รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ประธานที่ประชุมย้ำกลุ่ม Startup ถือเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ซึ่งมีศักยภาพเติบโตได้ในอนาคต ตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve ที่มีการนำเทคโนโลยี (Tech application) มาประยุกต์ในการดำเนินธุรกิจ หากได้รับการสนับสนุนและการบ่มเพาะที่เพียงพอ โดย DITP ไม่ได้มองข้ามความสำคัญของกลุ่มผู้ประกอบการ Startup พร้อมเดินหน้าบูรณาการความร่วมมือกับ NIA  ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ดูแล Startup ไทยโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการจัดหลักสูตรฝึกอบรม Pitch2Success ที่เกี่ยวข้องกับ Startup จากผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนและ NIA ที่สถาบัน NEA (ถ.รัชดาภิเษก) และหลักสูตร online “Startup 101” บน E-Academy นอกจากนี้ หลังผ่านการอบรม ผู้ประกอบการ สามารถก้าวออกสู่เวทีการค้าจริงผ่านการสนับสนุนภายใต้โครงการ SMEs Pro-active ที่ให้วงเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าร่วมกิจกรรม Business Matching/ Pitching สูงสุดถึงครั้งละ 200,000 บาท จำนวน 6 ครั้งตลอดทั้งระยะ

“Startup ของไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ และประเทศไทยกำลังพัฒนามุ่งสู่การเป็น Global Startup Platform for Asia” นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กล่าว และสะท้อนเสียงจากผู้ประกอบการ Startup ว่า ประเทศไทยมี Startup ที่มีศักยภาพหลายราย (ในปัจจุบัน จำนวนสมาชิก Startup ของ NIA มีประมาณ 1,700 ราย) แต่อาจจะยังขาดปัจจัยสนับสนุนด้านเงินทุนและองค์ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่ง DITP สามารถขานรับความต้องการของผู้ประกอบการ Startup ได้ โดย Startup ที่เป็นสมาชิกของ NIA และผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับการ Pitching และ Business model จากสถาบัน NEA แล้วจะสามารถสมัครเป็นสมาชิกของ DITP ต่อไป เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการขอรับสิทธิ์ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active และการได้รับข้อมูลด้านการค้าระหว่างประเทศจาก DITP ตลอดจนสิทธิพิเศษอื่นๆ ร่วมกับ NIA เช่น การได้รับโอกาสเข้า Pitching ในงาน Startup Thailand หาก Startup รายนั้นมีศักยภาพโดดเด่นในระหว่างการเข้าฝึกอบรมและสามารถ Pitching หลังอบรมได้อย่างประสบความสำเร็จ

DITP จะแบ่งประเภทในการรับสมัครสมาชิก Startup ตามการแบ่งกลุ่มประเภทสาขาธุรกิจ (Business sectors) สำหรับผู้ประกอบการ Startup โดยคณะกรรมการวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (National Startup Committee) ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ 1. Agri/FoodTech (เกษตรและอาหาร) 2. Business/ServiceTech (ธุรกิจเทคโนโลยีการบริการ) 3. FinTech (การเงิน) 4. Gov/EdTech (ภาครัฐและการศึกษา) 5. Health/MedTech (การแพทย์และสาธารณสุข) 6. IndustryTech (อุตสาหกรรมการผลิตแห่งอนาคต) 7. Lifestyle/EntertainmentTech (ไลฟ์สไตล์และความบันเทิง) 8.Property/UrbanTech (อสังหาริมทรัพย์และเทคโนโลยีเมือง) 9. TravelTech (ท่องเที่ยว) ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของประเทศ (S-Curve)

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถศึกษาข้อมูลและหลักเกณฑ์โครงการ SMEs Pro-active เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์โครงการ https://smesproactive.ditp.go.th/ หรือโทรสอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2507-7783/7786 ซึ่งลักษณะกิจกรรมที่โครงการสนับสนุนผู้ประกอบการมีทั้งในรูปแบบงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ (overseas trade fair) และกิจกรรม Business Matching/Pitching โดยสนับสนุน 6 ครั้งสำหรับแต่ละกิจกรรม (วงเงินสนับสนุนสูงสุดครั้งละ 200,000 บาทต่อครั้ง) และหากสนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศแบบครบเครื่อง สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ https://e-academy.ditp.go.th/

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *