web analytics

ติดต่อเรา

แคนนอน ฉลองความสำเร็จยอดการผลิตกล้องและเลนส์

บริษัท แคนนอน ประเทศญี่ปุ่น ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญ 2 ประการ คือ การผลิตกล้องถ่ายภาพครบ 90 ล้านกล้อง เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2017 และการผลิตเลนส์ถ่ายภาพตระกูล EF ครบ 130 ล้านชิ้น  เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2017 โดยกล้องถ่ายภาพตัวที่ 90 ล้านที่แคนนอนผลิตขึ้นเป็นกล้องรุ่น EOS 5D Mark IV ส่วนเลนส์ชิ้นที่ 130 ล้านเป็นเลนส์รุ่น EF 16-35mm f/2.8L III USM

กล้องถ่ายภาพตระกูล EOS ของแคนนอนเปิดตัวพร้อมกับเลนส์ตระกูล EF เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1987 โดยเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการใช้เมาท์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบกับกล้องฟิล์ม SLR ที่มีระบบโฟกัสอัตโนมัติ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ทั้งสองตระกูลทวีความหลากหลายและได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากผู้ใช้งานตั้งแต่ผู้ใช้กล้องเป็นครั้งแรกไปจนถึงนักถ่ายภาพมืออาชีพ การผลิตยิ่งเพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 2000 จากความแพร่หลายของกล้องดิจิทัล SLR อีกทั้งกล้องดิจิทัลเปลี่ยนเลนส์ได้ของแคนนอนยังครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ของโลกถึง 14 ปีติดต่อกันนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 อีกด้วย

กล้องตระกูล EOS มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิด “ความเร็วและความสะดวกสบาย” และเมื่อถึงยุคของกล้องดิจิทัล แนวคิดดังกล่าวจึงขยายครอบคลุมเรื่อง”คุณภาพสูงของภาพถ่าย” ด้วย โดยแคนนอนเป็นผู้คิดค้นพัฒนาอุปกรณ์ส่วนสำคัญทั้งหมดของกล้อง EOS เอง ไม่ว่าจะเป็นเซ็นเซอร์ CMOS ชิปประมวลผลภาพ หรือเลนส์ถอดเปลี่ยนได้ โดยเฉพาะเลนส์ตระกูล EF ที่เป็นผู้นำในด้านยอดขายและใช้นวัตกรรมที่เป็นครั้งแรกของโลก หลายอย่าง เช่น มอเตอร์อัลตร้าโซนิค (USM) ระบบป้องกันภาพสั่นไหว (IS) และ ชิ้นเลนส์กระจายลำแสงหลายชั้นเพื่อลดขนาดของเลนส์โดยรวมลง (multilayered diffractive optical (DO) element)

แคนนอนยังคงมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ตระกูล EOS และ EF ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีด้านภาพและเชื่อมโยงเทคโนโลยีการถ่ายภาพนิ่ง วิดีโอ และระบบการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างลงตัว แคนนอนมีความตั้งใจที่จะผลิตสินค้าที่มีทั้งความสวยงามและประโยชน์ใช้สอยที่ไว้ใจได้ พร้อมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโออย่างไม่หยุดยั้ง

กล้องรุ่นแรกในตระกูล EOS คือกล้อง SLR เปลี่ยนเลนส์ได้รุ่น EOS 650 เปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1987 กล้องรุ่นนี้ไม่เพียงแต่เป็นกล้องรุ่นแรกในโลกที่ใช้ระบบเมาท์เลนส์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่กล้องกับเลนส์ยังทำงานประสานกันผ่านระบบดิจิทัลทั้งหมดด้วยเทคโนโลยีออโต้โฟกัสยุคใหม่

ในยุคที่กล้องฟิล์มเป็นที่นิยม แคนนอนได้เปิดตัวกล้องหลายรุ่นเพื่อความต้องการใช้งานที่หลากหลาย เช่น EOS-1 ที่เปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อปี 1989 เจาะกลุ่มช่างภาพอาชีพ และ EOS Kiss (ชื่ออื่นๆ คือ EOS Rebel XS และ EOS 500) ที่เปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อปี 1993 และเป็นกล้องขนาดกะทัดรัดน้ำหนักเบาที่ช่วยขยายฐานลูกค้าผู้ใช้กล้องแคนนอนได้อย่างมาก ต่อมาในปี ค.ศ. 2003 เริ่มเข้าสู่ยุคกล้องดิจิทัล  แคนนอน ประเทศญี่ปุ่นจึงได้เปิดตัว EOS Kiss Digital (ชื่ออื่นๆ คือ EOS Digital Rebel or EOS 300D Digital) กล้องดิจิทัล SLR ระดับ entry-level ที่ทั้งกะทัดรัด น้ำหนักเบา และราคาไม่แพง ช่วยให้ตลาดกล้องถ่ายภาพเกิดการขยายตัวครั้งใหญ่และทำให้แคนนอนกลายเป็นเจ้าตลาดรายใหญ่ที่สุดในปีเดียวกัน หลังจากนั้นแคนนอนได้เปิดตัวกล้องถ่ายภาพที่เป็นนวัตกรรมแห่งยุคอย่างต่อเนื่องในซีรีส์ EOS-1D และ EOS 5Dซึ่งทำให้การถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง SLR เป็นที่นิยมมากขึ้น และทำให้แคนนอนครองความเป็นผู้นำยอดขายอันดับ 1 ของโลกในตลาดกล้องดิจิทัลเปลี่ยนเลนส์ได้ต่อเนื่องถึง 14 ปีซ้อน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003-2016

นับตั้งแต่การเปิดตัวเลนส์ EF รุ่นแรกพร้อมกับกล้องตระกูล EOS ในปี 1987 แคนนอนได้พัฒนาเลนส์หลากหลายรุ่นที่ใช้เทคโนโลยีที่เป็นครั้งแรกของโลก เช่น รุ่น EF75-300mm f/4-5.6 IS USM ที่มาพร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหวและเปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.1995 รุ่นEF24mm f/4.5L II USM ที่เคลือบด้วยสารป้องกันการสะท้อนของแสง Subwavelength Structure Coating (SWC) และเปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 2008 รวมถึงได้เปิดตัวเลนส์รุ่น EF11-24mm f/4L USM ในปี ค.ศ.2015 โดยเป็นเลนส์ซูมมุมกว้างพิเศษ (ultra-wide-angle) รุ่นแรกของโลก ที่มีทางยาวโฟกัส 11 มม.

ปัจจุบันนี้เลนส์ตระกูล EF มีทั้งหมด 93 รุ่น  ซึ่งรวมถึงเลนส์มุมกว้างพิเศษทางยาวโฟกัส 8 มม. เลนส์ซุเปอร์เทเลโฟโต้ทางยาวโฟกัส 800 มม. ไปจนถึงเลนส์ในซีรีส์ EOS Cinema สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีให้เลือกหลายสำหรับทุกความต้องการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ซูม เลนส์ที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว เลนส์ความเร็วสูงรูรับแสงกว้าง เลนส์มาโคร หรือแม้กระทั่งเลนส์ tilt-shift ในซีรีส์ TS-E แคนนอนจึงพร้อมตอบสนองทุกความต้องการของผู้ใช้กล้องทุกคน

 

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *