web analytics

ติดต่อเรา

“BMW Unbound World of Art Series” ฉลองครบรอบ 45 ปี “BMW Art Cars”

บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย เปิดโปรเจกต์ “BMW Unbound World Of Art Seriesส่งมอบประสบการณ์งานศิลป์ระดับโลกให้คนไทยได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด ในโอกาสครบรอบ 45 ปี “BMW Art Cars” ที่ศิลปินชื่อก้องโลกจำนวน  19 คนได้รังสรรค์งานศิลป์ไว้บนตัวรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูจนกลายเป็นผลงานศิลปะระดับตำนานที่คนทั่วโลกต่างจดจำ

โดยจับมือกับ 9 ศิลปินชั้นนำจากหลากหลายแขนงทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิ “ดวงฤทธิ์ บุนนาค” สถาปนิก-นักออกแบบชื่อดัง “มิลิน ยุวจรัสกุล” ดีไซเนอร์เจ้าของแบรนด์แฟชั่น Milin และ “นนทวัฒน์ เจริญชาศรี” กราฟิกดีไซเนอร์ชื่อดังเจ้าของบริษัทออกแบบระดับแถวหน้าของเมืองไทย พร้อมด้วยศิลปินอีกหลากหลายท่านมารังสรรค์งานศิลป์บนรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูจำนวน 9 คัน เพื่อแสดงถึงจิตวิญญาณของศิลปินที่มีความหลงใหลในงานศิลป์ และความชื่นชอบในตัวรถบีเอ็มดับเบิลยูดังเช่นผลงานศิลปะชิ้นเอกที่ศิลปินทั้ง 19 คนได้เคยรังสรรค์ไว้พร้อมเผยโฉมผลงานศิลป์ทั้ง 9 คันเป็นครั้งแรกในงาน BIMMERMEET#4 ที่สุดแห่งงานของคนรักรถ ดนตรี และศิลปะเพื่อให้เหล่าบิมเมอร์ได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด ณ อิมแพค สปีด ปาร์ค

คุณเศรษฐิพงศ์ อนุตรโสตถิ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาด บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย กล่าวว่า “BMW Art Cars เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1975 เกิดจากไอเดียของแอร์เว่ ปูแลง (Herve Poulain) นักแข่งรถชาวฝรั่งเศสที่มีความหลงใหลในการแข่งรถ และต้องการใช้รถยนต์เป็นผืนผ้าใบในการสร้างสรรค์งานศิลปะตามจินตนาการของเหล่าศิลปินหลากหลายประเทศจากแทบทุกทวีปทั่วโลก โดยศิลปินชื่อดังเหล่านี้ได้ออกแบบลวดลายศิลปะลงบนรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูรุ่นต่าง ๆ ด้วยคอนเซ็ปต์และไอเดียที่แสดงถึงตัวตน และจิตวิญญาณความเป็นศิลปินของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป เกิดเป็นผลงานศิลปะที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ และเรื่องราวจนทำให้ BMW Art Cars กลายเป็นงานศิลป์ชั้นยอดที่คนทั่วโลกรู้จัก และจดจำ ปัจจุบันมี BMW Art Cars จำนวนรวมทั้งหมด 19 คัน ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยศิลปิน ระดับโลก 19 คน อาทิ อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์ (Alexander Calder) ศิลปินชาวอเมริกัน เจ้าของผลงาน BMW Art Car คันแรกของโลกแฟรงก์ สเตลลา (Frank Stella) ศิลปินผู้หลงใหลในงานแนว Transitional Painting รวมถึงสองศิลปิน แนวป๊อปอาร์ตชื่อก้องโลกอย่าง รอย ลิกเทนสไตน์  (Roy Lichtenstein) และแอนดี วอร์ฮอล (Andy Warhol) ซึ่งผลงาน BMW Art Car ของทั้งคู่ถือเป็นผลงานที่ได้รับการพูดถึงในวงกว้างเป็นอย่างมาก

ดังนั้นในโอกาสครบรอบ 45 ปี BMW Art Cars บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย จึงได้จัดโปรเจกต์       “BMW Unbound World Of Art Series” ขึ้นเพื่อชวนคนไทยมาสัมผัสประสบการณ์งานศิลป์อย่าง BMW Art Cars พร้อมไฮไลท์พิเศษที่บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย ได้จับมือกับศิลปินชั้นนำจากหลากหลายแขนง ได้แก่ อินทีเรีย ดีไซเนอร์ กราฟิก ดีไซเนอร์ แฟชั่น ดีไซเนอร์ และศิลปินกราฟิตี้ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ มาร่วมถ่ายทอดแรงบันดาลใจ จิตวิญญาณของศิลปินที่มีความหลงใหลในงานศิลป์ และความชื่นชอบในตัวรถบีเอ็มดับเบิลยู สร้างสรรค์เป็นผลงานบนสุดยอดรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู 9 คัน

สำหรับศิลปินที่ให้เกียรติร่วมรังสรรค์ผลงานศิลปะภายใต้แคมเปญฯ นี้ มีทั้งหมด 9 ศิลปินด้วยกัน ได้แก่ คุณด้วง – ดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกและนักออกแบบ คุณหมู – นนทวัฒน์ เจริญชาศรี กราฟิกดีไซเนอร์ ผู้ก่อตั้ง DUCTSTORE คุณมิลิน ยุวจรัสกุล แฟชั่นดีไซเนอร์ เจ้าของแบรนด์ Milin คุณจี๊ป-ภาสินี คงเดชะกุล นักวาดภาพประกอบ คุณเติ้ล – ธีระยุทธ พืชเพ็ญ หรือ ทีอาร์เค (TRK) ศิลปินสตรีทอาร์ทชื่อดัง คุณผึ้ง-มธุนาฏ ซอโสตถิกุล นักวาดภาพอิสระ อันเดร โรบู  (Andrei Robu) ศิลปินชื่อดังจากประเทศสเปน พี-เอี๊ยบ ทาร์ และ ลิซ่า มาม (PEAP TARR &  LISA MAM) ศิลปินคู่หูดูโอ้แนวสตรีทอาร์ทจากกัมพูชา และ ทูปว์ แกลลอรี่ (Tube Gallery) แบรนด์เสื้อชั้นนำของเมืองไทย โดยได้ร่วมกันออกแบบผลงานบนรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูจำนวน 9 คัน ประกอบด้วยรถยนต์ BMW 7 Series, BMW X3, BMW X5, BMW Z4, BMW M4, BMW i3s, BMW i8 และ BMW i8 Roadster

โดยล่าสุด บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย ก็ได้นำผลงาน Art Cars ของศิลปินทั้ง 9 คนจัดแสดงในงาน #BIMMERMEET4 ที่สุดแห่งงานของคนรักรถ ดนตรี และ ศิลปะเป็นครั้งแรกเพื่อให้เหล่าบิมเมอร์ ด้สัมผัสอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังได้จัดโซน BMW Art Cars Gallery นำโมเดลรถจำลองผลงาน BMW Art Cars ทั้งหมดมาจัดแสดงให้ได้ชมกันอย่างใกล้ชิดอีกด้วย” คุณเศรษฐิพงศ์ กล่าวสรุป 

 

ตัวอย่างผลงาน BMW Unbound World of Art Series จากศิลปินชั้นนำ

BMW Z4 โดย “คุณด้วง – ดวงฤทธิ์ บุนนาค” สถาปนิกระดับแนวหน้าของเมืองไทย

แนวคิดในการออกแบบผลงานศิลปะบน BMW Z4 ยนตกรรมสปอร์ตโรดสเตอร์สุดคลาสสิกคันนี้ คุณด้วงได้ แรงบันดาลใจมาจากผลงาน BMW Art Car #02 ของแฟรงก์ สเตลลา (Frank Stella) ที่ออกแบบเสมือนพิมพ์เขียวที่ถูกเอามาวางไว้บนรถทั้งคัน ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนเข้าสู่ความเป็นสามมิติของงานศิลปะในยุคนั้น ดังนั้นรูปแบบการดีไซน์ของคุณด้วงจึงมีการดึงเส้นสายของตัวรถ BMW Z4 มาใช้เพื่อสะท้อนให้เห็นความโดดเด่นของรูปทรงอันเป็นเอกลักษณ์ของ BMW Z4 ที่ดูแข็งแกร่งและทรงพลัง โดยใช้การเทคนิคการสร้างลายเส้นสีดำตัดทับกันรอบตัวรถโดยเส้นสายทุกเส้นที่สร้างขึ้นล้วนมีจุดกำเนิดมาจากตัวรถ และเกิดขึ้นจากบริบทของตัวรถทั้งหมด จึงไม่มีเส้นสายใดที่เกิดขึ้นมาแล้วไม่ยึดโยงกับตัวรถ เพราะเป็นเส้นสายที่ถูกสร้างขึ้นโดยฟอร์มของรถเพื่อให้เกิดรูปทรงใหม่แต่ยังคงเป็น BMW Z4 คันเดิม

 

BMW i8 โดย “คุณหมู – นนทวัฒน์ เจริญชาศรี” กราฟิกดีไซเนอร์ชื่อดัง ผู้หลงใหลในเสน่ห์ของดีไซน์ CAMOUFLAGE

ผลงานศิลปะสไตล์สตรีทสุดคูลบน BMW i8 คันนี้ ออกแบบภายใต้คอนเซ็ปต์ “FUSION CAMOUFLAGE” โดยได้รับแรงบันดาลใจจากผลงาน BMW Art Car #17 ของเจฟฟ์ คูนส์ (Jeff Koons) ด้วยความชื่นชอบในลวดลายและสีสันของลายพรางบวกกับต้องการนำเสนอความแปลกใหม่ผ่านลวดลายและสีสันคุณหมูจึงเลือกลาย Camouflage แพทเทิร์นต่างๆ ที่ตนเองชอบมาถอดไดอะแกรมจากนั้นนำไปจัดเรียงเลเยอร์ใหม่โดยใช้โทนสีที่จัดจ้านและแตกต่างไปจากแพทเทิร์นเดิมจนกลายเป็นงานศิลปะที่โดดเด่น ร่วมสมัย ทั้งยังสะท้อนตัวตน และความหลงใหลในงานกราฟิกดีไซน์ของคุณหมูออกมาได้อย่างชัดเจน

 

BMW i3s โดย “คุณมิลิน ยุวจรัสกุล” ดีไซเนอร์ชื่อดัง ผู้ก่อตั้งแบรนด์แฟชั่น Milin

สำหรับผลงานศิลปะบนรถ BMW i3s คันนี้ คุณมิลินมีแนวคิดในการออกแบบที่ต้องการแสดงถึงตัวตน ของแบรนด์ Milin ด้วยการเล่าเรื่องของผู้หญิงในยุคใหม่ผ่าน Key Word ของแบรนด์อันได้แก่ “Elegant Sensual Rebellious” ผสานกับแรงบันดาลใจจาก BMW Art Car #18 BMW M6 GT3 สร้างสรรค์โดยเคา เฟย (Cao Fei) ซึ่งเป็นผลงานการสร้างสรรค์ BMW Digital Art Car ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และเทคโนโลยี โดยคุณมิลินได้นำเสนอมุมมองของ Material Girl ที่สื่อถึงความเรียบหรู และคลาสสิกอยู่ในผลงาน โดยเลือกใช้ “โซ่” และโลโก้ตัวเอ็ม (M) ของแบรนด์ Milin ซึ่งเป็นเพชร มาผสมผสานเป็นลวดลายงานออกแบบที่สะท้อนถึงความหรูหรา แต่แฝงไว้ด้วยความโฉบเฉี่ยว ที่บ่งบอกความเป็นแบรนด์ Milin ได้อย่างลงตัว

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *