web analytics

ติดต่อเรา

ปตท.สผ. ปั้นเยาวชนหัวใจสีเขียวพิทักษ์สิ่งแวดล้อม !

12 (1)                  12 (2)

“ป่าไม้อยู่ได้ถ้าไม่มีคน แต่คนคงอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีป่า” เห็นทีคำกล่าวนี้คงไม่ไกลเกินจริง เห็นได้จากภัยพิบัติที่เกิดต่อเนื่องในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งภาวะโลกร้อนและภัยจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นทุก ๆ ปี แน่นอนว่าสาเหตุหลักคงหนีไม่พ้นจากการที่ป่าไม้และธรรมชาติถูกทำลายจากน้ำมือของมนุษย์ ปัญหานี้จะไม่สามารถแก้ไขได้หากปราศจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่มีเยาวชนคนรุ่นใหม่อาสามาเป็นแนวร่วมพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จุดประกายโครงการ PTTEP Teenergy และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อปลูกจิตสำนึกและสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมให้แก่เยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ รับสมัครเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ จำนวน 100 คน เข้าร่วมกิจกรรมเปิดประสบการณ์เรียนรู้คุณค่าของผืนป่ามรดกโลก ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “หลงป่า” ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน

กิติศักดิ์ นวลจันทร์ฉาย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานเทคโนโลยีและพัฒนาความยั่งยืน ปตท.สผ. ในฐานะประธานคณะกรรมการโครงการ PTTEP Teenergy กล่าวว่า “ปตท.สผ. มุ่งส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้รับโอกาสในการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อจุดประกายความคิด และนำความรู้ไปต่อยอดกิจกรรมอนุรักษ์ในสถานศึกษาหรือชุมชนในพื้นที่ของตนเอง ตลอดจนผลักดันให้เกิดการสานต่อเครือข่ายเยาวชนจากทุกภูมิภาค เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับสังคมต่อไป”

โครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 3 นี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “หลงป่า” เพื่อสื่อถึงความสำคัญของระบบนิเวศของผืนป่ามรดกโลกเขาใหญ่ เปรียบเสมือนการพาเยาวชนไปสัมผัสความงดงามของผืนป่า จนเกิดความหลงรักในคุณค่าของธรรมชาติและพร้อมที่เป็นแนวร่วมในการอนุรักษ์ โดยเยาวชน ในโครงการฯ จะได้เรียนรู้แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากนักอนุรักษ์แถวหน้าของเมืองไทยด้วยกิจกรรมพิเศษมากมายภายในค่าย

12 (3)                  12 (4)

ปกครอง ทองเนื้อแข็ง ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า “ปัจจุบันสถานการณ์ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อยู่ในระดับที่ดีมาก ทั้งป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น จำนวนสัตว์ป่าก็เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อาทิ ช้าง และกระทิง แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี อย่างไรก็ตามปัญหาที่มีความกังวลตอนนี้ก็คือจำนวนของนักท่องเที่ยวที่ให้ความสนใจมาเที่ยวอุทยานป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงเทศกาล ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในเรื่องของการทิ้งขยะมูลฝอย และเสียงดังที่รบกวนสัตว์ป่า ซึ่งทางเจ้าหน้าที่มีจำนวนไม่มากพอที่จะดูแลพื้นที่แห่งนี้ได้ครบ 100% สิ่งสำคัญคือต้องปลูกฝังจิตสำนึกในการดูแลธรรมชาติให้เป็นของทุกคน ทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยว ก็อยากให้มีความรู้และมีหัวใจของนักอนุรักษ์ด้วย”

นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หรือ หมอล็อต หนึ่งในวิทยากรค่าย PTTEP Teenergy เล่าให้ฟังว่า ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าโดยตรงเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์ ที่อาจจะหวังดีกับสัตว์ป่า แต่หารู้ไม่ว่านั่นคือหายนะ เป็นการทำลายระบบนิเวศของธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว รวมถึงความมักง่ายที่นำสัตว์เลี้ยงที่เบื่อแล้ว เช่น กระต่าย เต่า นกและกบสวยงาม ไปปล่อยเขาใหญ่ ซึ่งทำให้สัตว์เหล่านั้นเสียชีวิตได้ และบางชนิดก็ทำให้เกิดการผสมข้ามพันธุ์และนำโรคติดต่อจากสัตว์เลี้ยงไปติดต่อกับสัตว์ป่าทำให้เกิดโรคระบาดได้ จึงอยากฝากถึงประชาชนรวมถึงนักท่องเที่ยวให้ช่วยกันปฏิบัติตาม กฏ 4 ม. บวก 1 คือไม่ให้อาหารสัตว์ ไม่ส่งเสียงดัง ไม่ทิ้งขยะ ไม่ขับรถเร็วและอีก 1 ม. ที่เพิ่มขึ้นมาคือไม่นำสัตว์ไปปล่อย เพื่อป้องกันและแก้ไขไม่ให้สัตว์ป่าลดจำนวนลงหรือต้องสูญพันธุ์ในที่สุด

ขณะที่ ศุภกิตติ์ อุทธิยาหรือ น้องเมล ตัวแทนเยาวชน PTTEP Teenergy รุ่นที่ 1 เผยถึงความรู้สึกหลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายเมื่อสองปีที่ผ่านมาว่า หลังจากที่ผมได้จบจากกิจกรรมค่าย PTTEP Teenergy ตั้งแต่รุ่นแรก ผมได้นำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดเท่าที่จะทำได้มากที่สุด ซึ่งผมมีความสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว ผมได้แรงบันดาลใจจาก PTTEP Teenergy ไปจุดประกายริเริ่มทำกิจกรรม CK Ranger (เชียงของเรนเจอร์) เป็นโครงการที่กระตุ้นให้เพื่อน ๆ ในโรงเรียนและชุมชนที่อยู่อาศัย รวมถึงคนในสังคมให้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นและหันมาร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหาในหลายๆ ทางด้วยความเต็มใจ ทั้งการปลูกต้นไม้ การคัดแยกขยะ แล้วจะได้รับแสตมป์เพื่อนำไปแลกของรางวัลซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

จนตอนนี้โครงการได้เปลี่ยนแนวคิดจากการแยกขยะ เพื่อหวังของรางวัลมาเป็นการให้ทุกคนในโรงเรียนร่วมรับผิดชอบในการแยกขยะอย่างจริงจัง ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนในโรงเรียนที่ต้องรวบรวมขยะที่ได้แล้วนำไปรวมไว้ที่ส่วนกลางเพื่อนำไปขายเงินที่ได้จากการขายขยะก็นำไปบริจาคให้ผู้ยากไร้ในวันสำคัญ ปัจจุบันโครงการเชียงของเรนเจอร์สามารถขยายผลโครงการไปยังโรงเรียนและชุมชนใกล้เคียงและคาดว่าในอนาคตจะขยายไปอีกเรื่อย ๆ ครับ

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *