web analytics

ติดต่อเรา

ฟอร์ดเปิดตัวโครงการ Better World

โครงการนำร่องใหม่ของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี มุ่งพัฒนาบริการสุขภาพเคลื่อนที่ในพื้นที่ชนบทของแอฟริกาใต้ ด้วยการใช้พลังยานยนต์ชั้นสูงและนวัตกรรมเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผสานกับความมุ่งมั่นพัฒนาให้โลกน่าอยู่ยิ่งขึ้น

โครงการ Better World เป็นการร่วมมือกันระหว่างองค์กรต่างๆ เช่น มูลนิธิศุภนิมิตในแอฟริกาใต้ (World Vision) และผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมต่างๆ เพื่อมอบความรู้ด้านสุขศึกษา ยา โภชนาการ และบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นแก่ผู้คนหลายพันคนในพื้นที่ห่างไกล ผ่านเทคโนโลยีด้านการสัญจรและการเชื่อมต่อของรถยนต์ฟอร์ด โดยฟอร์ดได้เผยรายละเอียดของโครงการดังกล่าวในรายงานความยั่งยืนประจำปี ฉบับที่ 17

ในแอฟริกาใต้ ฟอร์ด เรนเจอร์ 2 คันได้รับการดัดแปลงใหม่เพื่อทำหน้าที่เป็นคลินิคเคลื่อนที่ มอบบริการด้านสุขภาพ การจ่ายยาสำหรับอาการป่วยเรื้อรังและการติดตามการเจริญเติบโตของเด็กๆ โดยข้อมูลที่ได้มานั้น  จะช่วยให้หน่วยงานต่างๆ สามารถติดตามสุขภาพและช่วยพัฒนาบริการเพื่อป้องกันสุขภาพของเด็กๆ ในพื้นที่ ฟอร์ด เรนเจอร์ แต่ละคันได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีเชื่อมต่อต่างๆ รวมถึงระบบจัดการแบบแบตเตอรี่คู่ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเครื่องฉายวิดีโอ ตู้เย็นเคลื่อนที่ แทบเล็ตและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการมอบบริการสาธารณสุข การป้องกันและแคมเปญเสริมสร้างความตระหนักถึงความรุนแรงในเพศต่างๆ

“ที่ฟอร์ด เรามองไปไกลกว่าบทบาทเดิมๆ ที่ยานยนต์มีต่อสังคม และมุ่งเสาะหาโซลูชั่นส์สำหรับความท้าทายทั่วโลกที่มนุษย์ต้องเผชิญ” บิล ฟอร์ด ประธานบริหารฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าว “ความท้าทายเหล่านี้ได้นำเราไปยังพื้นที่ห่างไกล ซึ่งเราสามารถใช้เทคโนโลยียานยนต์และการเชื่อมต่อขั้นสูงเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่หลากหลายชีวิตและทำให้โลกใบนี้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม”

Ford Sustainability 02การสัญจรและรถยนต์ไฟฟ้า

รายงานความยั่งยืนประจำปี 2015-2016 ยังได้เน้นถึงก้าวสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและการทำงานของบริษัท รวมไปถึงการขยายขอบเขตความสนใจจากเดิมในเรื่องการผลิตรถยนต์ ให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาโซลูชั่นด้านการสัญจรเพื่ออนาคตอีกด้วย

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ฟอร์ดได้จัดตั้ง Ford Smart Mobility LLC บริษัทใหม่ในเครือ เพื่อการออกแบบ เติบโต และลงทุนในธุรกิจด้านการบริการสัญจรที่กำลังเติบโต โดยใช้นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยี ที่ฟอร์ดกำลังพัฒนาอยู่

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมแก่ลูกค้า ฟอร์ดได้เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่หลายตัว เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อกันได้ดียิ่งขึ้นในขณะอยู่ที่นั่งอยู่หลังพวงมาลัย เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ฟอร์ดได้เปิดตัว FordPass ซึ่งจะมอบบริการใหม่ๆ แก่ลูกค้า เช่น ระบบสั่งงานระยะไกลผ่านแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน และโซลูชั่นส์ด้านการสัญจรต่างๆ เช่น การจอดรถ และการแบ่งปันรถ

FordPass ซึ่งสามารถเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ ยังได้ร่วมมือกับสตาร์ทอัพและบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งเพื่อออกแบบและสร้างสรรค์บริการด้านการสัญจร โดยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ฟอร์ดและ Techstars Mobility ด้วยการสนับสนุนจากดีทรอยท์ ได้เปิดตัวกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพปี 2016เพื่อการพัฒนาโซลูชั่นส์ด้านการสัญจรสำหรับอนาคต โครงการที่ปรึกษาซึ่งได้เปิดตัวเมื่อปี 2015 นี้ ได้สนับสนุนสตาร์ทอัพปีละ12 แห่ง เพื่อพัฒนาบริการและเทคโนโลยีการแบ่งปันรถยนต์ ยกระดับประสบการณ์การเป็นเจ้าของรถ รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยและการขับขี่แบบไร้คนขับ

ฟอร์ดยังได้ทำการทดลองทั่วโลก เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการสัญจรในอนาคต ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนมากที่สุด โดยในช่วง 16 เดือนที่ผ่านมา ฟอร์ดได้ทำการทดลองด้านการสัญจรกว่า 30 ครั้งทั่วโลก เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในความชื่นชอบด้านการคมนาคมขนส่งของผู้บริโภค โครงการทดลองหลายโครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการนี้ รวมถึงโครงการ GoDrive โครงการแบ่งปันรถยนต์ในลอนดอน ซึ่งให้บริการรถยนต์พร้อมที่จอดในจุดที่หาที่จอดรถได้ยาก และโครงการ Dynamic Shuttle ที่โรงงานของฟอร์ดในเดียร์บอร์น มิชิแกน ซึ่งพนักงานและผู้มาเยี่ยมชมสามารถเรียกรถรับส่งไปรับที่จุดต่างๆ ได้ตามต้องการ

ฟอร์ด ในฐานะผู้จำหน่ายรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ยังได้ประกาศการขยายขอบเขตการวิจัยและพัฒนาทั้งในยุโรปและเอเชีย โดยฟอร์ดจะลงทุนมูลค่า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐไปจนถึงปี 2020 เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่ม 13 รุ่น ซึ่งจะส่งผลให้ร้อยละ 40 ของรถยนต์ของฟอร์ดเป็นรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้

ฟอร์ดจะลงทุนอีก 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ สร้างศูนย์วิจัยที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนเพื่อเร่งเครื่องทดลองและพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ขั้นสูง

การผลิตที่ยั่งยืนในประเทศไทย

ประเทศไทย ในฐานะศูนย์กลางการผลิตของฟอร์ดในภูมิภาคอาเซียน คือ ที่ตั้งของโรงงานฟอร์ด 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย จำกัด (AAT) และ ฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง (FTM) จังหวัดระยอง โดยโรงงานทั้ง 2 แห่ง ได้รับการรับรองด้านอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และยังเป็นผู้นำด้านการลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมในชุมชนอีกด้วย

นอกจากนี้ ในปี 2016 นี้ โรงงานเอเอทียังสามารถลดการกลบฝังของเสียเหลือเพียงศูนย์ (Zero Waste to Landfill) ได้ ในขณะที่โรงงานเอฟทีเอ็ม ได้นำระบบการจัดการอาคารแบบ Global Building Management System (GBMS) มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของสาธารณูปโภคต่างๆ และนี่เป็นเพียงบางตัวอย่างของความพยายามในการสร้างความยั่งยืนของฟอร์ดในประเทศไทย

เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

ฟอร์ดมีความมุ่งมั่นอย่างสูงในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและปฏิบัติต่อลูกค้า พนักงาน ชุมชน และโลกของเราด้วยความเคารพ

ฟอร์ดได้ลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ต่อคันลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีแล้ว รวมถึง การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการผลิตรถยนต์ต่อคัน และโรงงานหลายแห่งของฟอร์ดยังได้    ลดปริมาณการกลบฝังของเสียเหลือเพียงศูนย์

ด้วยเหตุนี้ ฟอร์ดจึงเป็นบริษัทรถยนต์เพียงแห่งเดียวที่คว้ารางวัลองค์กรที่มีจริยธรรมสูงสุดของโลกประจำปี จากสถาบันเอธิสเฟียร์ ติดต่อกันเป็นปีที่ 7 และเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา บริษัทยังได้รับรางวัล Sustainable Purchasing Leadership Council สำหรับโครงการ Partnership for A Cleaner Environment Program ซึ่งจัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยให้ซัพพลายเออร์ของบริษัทร่วมลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยฟอร์ดได้แบ่งปันรายละเอียดแนวทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพของบริษัทในการลดการใช้น้ำ พลังงาน และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับซัพพลายเออร์

“การตั้งเป้าหมายทิ่ยิ่งใหญ่และก้าวไปให้ถึงเป้าหมายนั้น คือ วิธีที่เราเปิดรับโอกาสและความท้าทายแห่งความยั่งยืนที่เราเผชิญทั้งในฐานะบริษัทและสังคม” คิม พิทเทล รองประธานบริหาร ฝ่ายความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมเพื่อความปลอดภัย กล่าว “ด้วยพลังแห่งมวลมนุษย์ ความสามารถในการคิดค้น และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่แข็งแกร่ง ฟอร์ดกำลังก้าวไปเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นแห่งอนาคต”

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *