web analytics

ติดต่อเรา

โตโยต้า ขับเคลื่อน โครงการ “สาทร โมเดล”

ครงการสาทรโมเดล ริเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2557 โดยสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ร่วมกับภาคเอกชน และได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากกรุงเทพมหานคร กระทรวงคมนาคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน เพื่อบรรเทาการจราจรที่ติดขัดบนถนนสาทร

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 โครงการได้มีการศึกษาทดลองดำเนินงาน โดยใช้มาตรการแก้ไขปัญหาการจราจรอัจฉริยะบนถนนสาทรและบริเวณโดยรอบ เช่น การริเริ่มรถบัสรับส่ง (Shuttle Bus) ที่โรงเรียนกรุงเทพ คริสเตียนวิทยาลัย รวมถึงมาตรการจอดแล้วจร (Park & Ride) ในหลายสถานที่ และมาตรการควบคุมจัดการจราจร (Traffic Flow Management) บนถนนสาทร ทั้งนี้ การทดลองดำเนินงานดังกล่าวได้รับเสียงตอบรับเชิงบวกจากผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในการวางพื้นฐานบริการคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้สัญจรบนท้องถนน

มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กล่าวว่า “รถยนต์เป็นปัจจัยสำคัญในการเดินทางอย่างเสรีของผู้คน ใช้ในการขนส่งสินค้าและมีส่วนในการพัฒนาความเจริญของสังคม แต่ในทางตรงกันข้ามการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของรถยนต์ทำให้การจราจรติดขัด เพิ่มปัญหาสิ่งแวดล้อมและอุบัติเหตุบนท้องถนน

กรุงเทพมหานคร คือหนึ่งในโครงการนำร่องเพื่อการแก้ปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน ด้วยความร่วมมือจากกระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึงบริษัทเอกชน และสถาบันการศึกษา ภายใต้การดำเนินงานของสภาธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD : The World Business Council for Sustainable Development)

การแก้ปัญหาจราจรด้วยการขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมนั้น ต้องใช้เวลาที่ยาวนานและงบประมาณมหาศาล แต่การใช้ระบบขนส่งสาธารณะรวมถึงการปรับเวลาเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน จะช่วยลดการจราจรที่หนาแน่นได้ เราจะรณรงค์ไม่จอดรถริมถนนและการพัฒนาระบบสัญาณไฟจราจรโดยประชาชนมีส่วนร่วมทำให้เห็นถึงประโยชน์ในการเลือกการเดินทางที่เหมาะสม ให้โอกาสประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยความร่วมมือจากรัฐบาล เอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชน เราจะทำให้สาทรเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาจราจรอย่างเป็นรูปธรรม และนี่คือ โครงการ สาทร โมเดล ”
ต่อมาในเดือนเมษายน 2558 มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี ได้สนับสนุนเงินทุนจำนวนประมาณ 110 ล้านบาทให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินโครงการสาทรโมเดลให้มีขอบเขตการทำงานที่มากขึ้น โดยมุ่งยกระดับการดำเนินการทดลอง รวมถึงเชิญชวนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ด้วยกันในโครงการนี้

มร.ชิเกรุ ฮายาคาวา กล่าวว่า “มูลนิธิ โตโยต้า โมบิลิตี ยินดีที่จะให้การสนับสนุนโครงการนี้เนื่องจากเป็นโครงการที่สอดรับกับภารกิจเชิงกลยุทธ์ของเราที่มุ่งพัฒนาคุณภาพการคมนาคมของประชาชนทั่วโลก นับว่าเป็นโครงการที่ทางมูลนิธิ โตโยต้า โมบิลิตี เข้าร่วมดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบ โดยใช้องค์ความรู้ของเราและบริษัทพันธมิตรเพื่อช่วยเติมเต็มความต้องการ และตอบสนองความคาดหวังในการเดินทางอย่างเสรี สะดวกสบาย และปลอดภัย ซึ่งในปีนี้เรามีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้แนะนำสองโครงการนำร่องเพื่อการจัดการจราจรอย่างยั่งยืนขึ้น นั่นคือ ที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม และกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้การดำเนินการของมูลนิธิ โตโยต้า โมบิลิตี จะมุ่งเน้นถึงกระบวนการที่ครอบคลุมต่อการมีส่วนร่วมของสังคม ดังนั้นเราจึงไม่ได้ดำเนินการเพียงเพื่อผลทางธุรกิจของเราเท่านั้น หากแต่เรายังมุ่งมั่นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอีกด้วย เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะช่วยพัฒนาการจราจรภายในกรุงเทพมหานครและสามารถนำประสบการณ์ในการทำโครงการครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อื่นๆ ได้ต่อไป”

หลังจากใช้เวลาในการเตรียมงานเพียงไม่กี่เดือน ขณะนี้ทางโครงการมีความพร้อมแล้วที่จะเชิญชวนให้ประชาชนผู้สัญจรบนท้องถนน ตลอดจนภาคส่วนธุรกิจและองค์กรที่สนใจได้มาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองดำเนินการเพื่อการจัดการจราจรครั้งที่สองของโครงการ ซึ่งประกอบไปด้วยมาตรการเพื่อการสัญจรที่หลากหลายให้สามารถเลือกใช้ได้ ดังต่อไปนี้

1. โครงการจอดแล้วจร (Park & Ride Scheme) ด้วยการเตรียมพื้นที่จอดรถ 13 แห่ง ที่สามารถรองรับรถยนต์ได้ 2,413 คัน ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานีระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS : Bangkok Mass Transit System) ตลอดจนสถานีรถไฟฟ้ามหานคร (MRT: The Metropolitan Rapid Transit) และ รถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT : Bus Rapid Transit)
2. โครงการรถบัสรับส่ง (Shuttle Bus Sharing Scheme) ที่พร้อมให้บริการด้วยรถบัสที่ทันสมัย สำหรับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จำนวน 4 เส้นทาง และโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม
3. การเหลื่อมเวลาทำงาน (Flexible Working Time) เพื่อกระจายปริมาณรถยนต์ในช่วงเวลาเร่งด่วน
4. การทำประชามติและประเมินผลแบบจำลองการจราจร เพื่อแก้ปัญหาการจัดการการจราจรบริเวณคอขวด
5. การสนับสนุนการพัฒนาระบบสัญญาณไฟจราจร
6. การพัฒนาและเตรียมแนะนำการใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน เพื่อที่จะเลือกวิธีการเดินทางได้อย่างเหมาะสม รวมถึงพิจารณาเวลาที่ควรเริ่มออกเดินทาง ตลอดจนประเมินเวลาที่ใช้ในการเดินทาง และเลือกรูปแบบการเดินทางที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายคล่องตัวที่สุด

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังมีส่วนช่วยในการนำเสนอการจัดการการจราจรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าหน้าที่ในการนำวิธีการดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางปฎิบัติต่อไป

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล กล่าวว่า “ประชาชนในกรุงเทพมหานคร ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเดินทางเนื่องจากภาวะการจราจรติดขัด ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีความยินดี ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับทีมงานของโครงการเพื่อแก้ปัญหา โดยเราพร้อมที่จะเริ่มต้นไปกับสังคมไทยเพื่อช่วยกันบรรลุภารกิจที่ท้าทายในครั้งนี้ ผมขอเชิญชวนให้ทุกท่านเข้ามามีส่วนร่วมในทดลองใช้มาตรการการจัดการด้านจราจรในครั้งนี้ เพื่อนำพาเราไปสู่การพัฒนาที่จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนความสุขให้กับสังคมไทย”

การคมนาคมอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานครจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้หากขาดการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ประชาชนผู้สัญจรจำเป็นต้องมีทางเลือกในการเดินทางอย่างชาญฉลาด ดังนั้นจึงควรมีการริเริ่มและสานต่อการให้บริการอำนวยความสะดวกในการคมนาคมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังสมควรนำนโยบายเพื่อการคมนาคมอย่างยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ด้วยเช่นกัน

มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กล่าวปิดท้ายว่า “วันนี้เราได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงกว่า 70 บริษัท มาร่วมแสดงความร่วมมือในด้านต่าง ๆ รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งความร่วมมือทั้งหมดนี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน และจะทำให้ โครงการ สาทร โมเดล เป็นต้นแบบของการจัดการปัญหาจราจรของกรุงเทพมหานคร และกรุงเทพมหานครจะเป็นต้นแบบของโลก ก็ด้วยความร่วมมือจากรัฐบาล เอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนทุกคน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความสุขที่โตโยต้าขอมอบให้กับทุกท่าน”

ร่วมกันขยับ ขับเคลื่อนสาทร

สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พร้อมด้วย 15 องค์กรชั้นนำของโลก ริเริ่มโครงการคมนาคมอย่างยั่งยืน 2.0
สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้เริ่มโครงการคมนาคมอย่างยั่งยืน 2.0 ในปี 2556 โดยมีสมาชิกทั้งสิ้น 15 บริษัท ร่วมขับเคลื่อนโครงการฯ ได้แก่ บีเอ็มดับเบิลยู บีพี บริดจสโตน Brisa เดมเลอร์ Deutsche-Bahn ฟอร์ด ฟูจิสึ ฮอนด้า มิชลิน นิสสัน พีรารี่ เชลล์ โตโยต้า และโฟล์คสวาเกน โดยมุ่งเน้นที่จะเร่งและขยายวิธีการแก้ปัญหาการคมนาคมอย่างยั่งยืน โดยอาศัยระบบการจัดการและเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อปรับปรุงการเดินทางและคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น โดยจำแนกเมืองต่างๆ ทั่วโลกออกเป็น 6 กลุ่มย่อย ตามลักษณะเฉพาะของการสัญจร และคัดเลือกเมืองทั้งหมด 6 เมือง เพื่อใช้เป็นเมืองสาธิตในการพัฒนาแนวทางการดำเนินการสำหรับการคมนาคมอย่างยั่งยืนร่วมกับรัฐบาลของเมืองนั้นๆ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยความปรารถนาที่จะนำมาซึ่งคำตอบที่ดีกว่าของการคมนาคมอย่างยั่งยืน ซึ่งกรุงเทพฯ ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 6 เมืองสาธิต โดยโครงการฯ ได้เลือกเมืองใหญ่ 6 แห่ง ดังนี้ Indore-India, Chengdu-China, Campinas-Brazil, Lisbon-Portugal, Hamburg-Germany และ กรุงเทพมหานคร

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *