web analytics

ติดต่อเรา

กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ฟื้นตัว หลังผลประชามติอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป !

กลุ่มตลาดเกิดใหม่ รวมถึงทวีปเอเชีย กำลังฟื้นตัวภายใต้สถานการณ์หลังผลประชามติของอังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Brexit) จากงานวิจัยใหม่ของธนาคารดอยซ์แบงก์แสดงให้เห็นว่า กลุ่มตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย จะได้รับประโยชน์จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯได้ประกาศว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ความสนใจของนักลงทุนที่มีต่อตลาดเอเชียเริ่มลดลง ประกอบกับการชะลอตัวทางการค้าในประเทศจีน และความตกต่ำของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ปัจจัยดังกล่าวได้สร้างอุปสรรคและเงื่อนไขทางการค้าที่ท้าทายไปทั่วภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย

อย่างไรก็ดี ด้วยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ปกคลุมไปทั่วกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหราชอาณาจักร ยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งส่งผลให้ผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับลดลงตามไปด้วย ทำให้นักลงทุนต่างชาติหันกลับมาสนใจภูมิภาคเอเชียอีกครั้งเพื่อโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ

สำหรับตลาดทุนแนวโน้มเป็นไปในทิศทางบวก ด้วยปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำและมีอัตราเงินเฟ้อที่จำกัด แต่อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงยังคงสูง ปัจจัยเหล่านี้สนับสนุนเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน และให้ผลตอบแทนจากตราสารหนี้ที่น่าดึงดูดใจแก่นักลงทุนมากขึ้น ซึ่งช่วยสนับสนุนการไหลเวียนของเงินลงทุน

ดร. ไมเคิล สเปนเซอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ (Chief of Economist) ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ของดอยซ์แบงก์ กล่าวว่า “โดยรวมแล้วประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบมากจากเหตุการณ์ Brexit โดยท่ามกลางความผันผวนที่เกิดจากเหตุการณ์ Brexit สกุลเงินเอเชียยังค่อนข้างคงที่และการไหลเวียนของเงินลงทุนยังคงอยู่ในทิศทางบวก” พร้อมทั้งเล่าต่อว่า “ท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมดังกล่าว แนวโน้มเศรษฐกิจของไทยเป็นที่น่าจับตามองผู้บริโภคตอบสนองดีต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ถูกออกแบบเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของไทยกำลังฟื้นตัว”

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจประเทศไทยยังต้องเผชิญกับแรงต้านต่าง ๆ การลงทุนภาคเอกชนและการนำเข้าสินค้าประเภททุนยังคงมีอัตราต่ำกว่าแนวโน้มที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับการเติบโตของสินเชื่อและดัชนีผลผลิตภาคอุตสหกรรมยังไม่ดีขึ้น “เศรษฐกิจอยู่บนจุดที่กำลังจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง เราอยากจะเห็นดัชนีชี้วัดการบริโภคในเชิงบวกในต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ภาระหนี้คงค้างนั้น อาจมีผลบั่นทอนต่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน” ดร. ไมเคิลกล่าว

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *