web analytics

ติดต่อเรา

นักศึกษาร่วมใจสานต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับนิสสัน ในโครงการ “แค่ใจก็เพียงพอ”

นิสสัน ประเทศไทย นำนักศึกษาไปเยี่ยมชมชุมชนเพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างสรรค์สิ่งของเหลือใช้และนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถขายได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “แค่ใจก็เพียงพอ” ที่เกิดขึ้นเป็นปีที่สอง

นิสสัน ได้ร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อทำงานร่วมกับชุมชนปากน้ำปราณ ชุมชนประมงที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอปราณบุรี ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำปราณบุรีซึ่งไหลลงสู่อ่าวไทย เพื่อคัดแยกสิ่งของเหลือใช้ที่สามารถนำสร้างสรรค์เพื่อแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาขายใหม่ได้

นิสสัน นำนักศึกษาชั้นปีที่ หนึ่งจำนวน 72 คนและนักศึกษาปีที่สองจำนวน 8 คนพร้อมด้วยอาจารย์ จารุพัชร อาชวะสมิต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เดินทางไปยังปากน้ำปราณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อพบปะและทำงานร่วมกับชาวบ้านท้องถิ่นที่ประกอบอาชีพการเกษตรและการประมง เพื่อแยกของเหลือใช้ที่สามารถนำมาผลิตเป็นสิ่งของที่สามารถขายได้

“เป้าหมายของเราคือการแบ่งปันภูมิปัญญาและคำสอนของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ โดยการเป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน โดยการ ‘ให้’ กลับคืนไปสู่ชุมชน” ปีเตอร์ แกลลี รองประธาน สายงานสื่อสารองค์กร นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าว “เราเชื่อว่าความคิดริเริ่มนี้จะสร้างรายได้และปรับปรุงความเป็นอยู่ของชุมชนโดยรวมให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้รักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดและปลอดภัยสำหรับทุกคนในอนาคต”

“โครงการนี้ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงแก่นักศึกษา นี่เป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักศึกษาและชุมชนปากน้ำปราณที่จะเรียนรู้ธรรมชาติร่วมกัน นักศึกษาจะเก็บข้อมูลและสำรวจทรัพยากรในชุมชน จากนั้นเสนอการออกแบบผลิตภัณฑ์จากของเหลือใช้ในชุมชน จากนั้นชุมชนจะแสดงความคิดเห็นและแนะนำ นักศึกษาจะปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของพวกเขา จนในที่สุดเราก็จะมีสินค้าที่ชุมชนสามารถผลิตได้ และพวกเขาจะสามารถสร้างรายได้พร้อมทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” จารุพัชร กล่าวเสริม “ปากน้ำปราณเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นชุมชนที่มีของเหลือใช้มาจากแม่น้ำและทะเล ทำให้มีวัสดุที่สามารถนำไปสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และนำกลับมาใช้ใหม่”

นักศึกษาจะระดมความคิดและออกแบบผลิตภัณฑ์โดยอิงจากการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและดูว่ามี ของเหลือใช้อะไรบ้างสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีดีไซน์ที่สวยงาม (upcycle) และสามารถจำหน่ายได้จริง ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดจะได้รับการคัดเลือก และนักศึกษาจะถ่ายทอดวิธีการทำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้กับชุมชนท้องถิ่น

นิสสัน ยังคงดำเนินตามคำสอน ภูมิปัญญาและความเอื้ออาทรของพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ความคิดริเริ่มนี้เกิดขึ้นจากแนวคิด ‘การให้’ อันเป็นอัตลักษณ์หลักของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ เพื่อช่วยส่งเสริมทักษะให้คนในชุมชน  สามารถนำไปปรับใช้จนเกิดรายได้ในระยะยาวและยั่งยืน ซึ่งในเวลาเดียวกันช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *