web analytics

ติดต่อเรา

อีริคสันเผยรายงาน Digital Thailand ชี้ ไทยพร้อมสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

อีริคสันเปิดเผยรายงาน Digital Thailand ที่ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับผู้บริโภคและอุตสาหกรรมในประเด็นความพร้อมของไทยที่ จะก้าวสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ในโอกาสเปิดตัวสำนักงานในกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่อย่างเป็นทางการ

รายงาน Digital Thailand ซึ่งใช้ผลการวิจัยจาก Ericsson’s ConsumerLab และการสัมภาษณ์ผู้มีบทบาทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศชี้ชัดว่าผู้บริโภคไทยนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้กับทุกสถานการณ์ในชีวิตและพร้อมแล้วสำหรับ “อินเตอร์เน็ตสำหรับทุกสิ่ง” และประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภูมิภาค

ผู้บริโภคไทยนำหน้าหรือเท่ากับผู้บริโภคจากทั่วโลกในเรื่องของการหลอมรวมหรือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่นร้อยละ 45 ของผู้บริโภคไทยเทียบกับร้อยละ 37 ของผู้บริโภคทั่วโลกเชื่อว่า การค้นพบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากชุมชนออนไลน์ง่ายกว่าการค้นหาจากอินเตอร์เน็ต

และร้อยละ 33 ของผู้บริโภคที่สำรวจในไทยมีกิจการรมเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันบางอย่าง เช่น การแบ่งปันที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า ยานพาหนะ และ Wi-FI กับคนกลุ่มเดียวกันทางเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เทียบกับร้อยละ 34 ทั่วโลก

นาดีน อัลเลน ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “อีริคสันเป็นผู้สนับสนุนที่เข้มแข็งให้กับวิสัยทัศน์ Digital Thailand ของรัฐบาลไทยที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเราในเรื่องสังคมที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายซึ่งทำให้คนทุกคน ธุรกิจทุกอย่าง

และสังคมทุกแห่งเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของตัวเองผ่านการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เราทำงานร่วมกับลูกค้าและหุ้นส่วนของเรา รวมถึงรัฐบาลไทยเป็นเวลา 110 ปี เพื่อปฏิรูปการใช้ชีวิต การทำงานและการสื่อสารของคนไทย และเราให้คำมั่นว่าจะทำเรื่องนี้ต่อเนื่องไปในอีก 110 ปี ข้างหน้า”

“รายงาน Digital Thailand ของเราตั้งประเด็นหารือที่สำคัญแก่รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องถึงความร่วมมือที่ทุกฝ่ายสามารถทำได้เพื่อเร่งการปฏิรูปไทยให้เป็นประเทศดิจิทัลเร็วขึ้น”

เมื่อการรับเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพของเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้วิสัยทัศน์ ประเทศดิจิทัลเกิดขึ้นได้จริง ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับสองของภูมิภาคในเรื่องอัตราความเร็วสูงสุดในการส่งข้อมูล จากสถานีแม่ข่ายไปยังสถานีลูกข่าย (Peak Downlink Speed) และอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล 1 แพ็คเกตจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง (Latency) บนอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ไทยอยู่ในอันดับห้าสำหรับการส่งข้อมูลปริมาณต่ำสุด (Cell-edge Throughput)

ซึ่งเหมาะสมกับการค้นหาข้อมูลทางเว็บไซต์ แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับ Video หรือ Music Streaming รวมทั้งการประชุมแบบทันทีผ่านระบบวิดิโอด้วย ผู้ประกอบการโทรคมนาคมในประเทศดำเนินการเพิ่มความครอบคลุมขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อสนับสนุนการให้บริการคอนเทนต์สื่อขนาดใหญ่ (Media Rich Content)

ซึ่งเป็นที่ต้องการมากขึ้น ต้องจัดให้ประชาชนทั้งในเมืองและในชนบทสามารถรับประสบการณ์ที่ดีจากการใช้บรอดแบนด์ได้ ต้องนำปัญหาในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมาตั้งเป็นโจทย์ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นในประเทศ ทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลเร็วขึ้น

อีริคสันทำนายว่า “อินเตอร์เน็ตสำหรับทุกสิ่ง” จะกลายเป็นประเภทของอุปกรณ์เชื่อมต่อที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดแซงหน้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปีพ.ศ. 2561 และรายงาน Digital Thailand แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของผู้บริโภคไทยที่จะใช้ “อินเตอร์เน็ตสำหรับทุกสิ่ง”

ร้อยละ 43 ของผู้บริโภคในประเทศรู้สึกว่าการเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน อุปกรณ์ต่าง ๆ และบริการทั้งหลายเข้ากับอินเตอร์เน็ตจะเป็นผลดีกับสังคม เปรียบเทียบกับผู้บริโภคร้อยละ 36 ทั่วโลก และร้อยละ 84 ของผู้บริโภคไทยต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายๆ อย่างหรือสิ่งของหลาย ๆ ชิ้นเข้ากับอินเตอร์เน็ตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน เทียบกับร้อยละ 81 ทั่วโลก โทรทัศน์ รถยนต์ กล้องถ่ายภาพ และสัญญาณเตือนภัยในบ้านเป็นอุปกรณ์ที่ผู้บริโภคไทยต้องการให้มีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตสูงสุด

อย่างไรก็ตาม มีข้อกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นตามมาจากการใช้อินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น เศษหนึ่งส่วนสามของผู้บริโภคไทยเกรงว่ารายละเอียดของชีวิตส่วนตัวของตนจะถูกบันทึกไว้โดยพวกเขาไม่ได้รับรู้ด้วย

“ข้อกังวลเหล่านี้ต้องได้รับการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคไทยได้ มีส่วนร่วมเชิงรุกในเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับโลก อีริคสันรอที่จะผนวกข้อมูลระดับโลกเข้ากับข้อมูลระดับประเทศเพื่อให้ความร่วมมือกับอุตสาหกรรมและรัฐบาลในการทำให้วิสัยทัศน์ ประเทศดิจิทัลเกิดขึ้นจริง” นาดีน อัลเลน กล่าวเสริม

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *